Please use this identifier to cite or link to this item: https://publication.npru.ac.th/jspui/handle/123456789/262
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorบุญช่วย, สัณหกฤษณ์-
dc.date.accessioned2018-12-11T01:45:11Z-
dc.date.available2018-12-11T01:45:11Z-
dc.date.issued2559-03-31-
dc.identifier.urihttps://publication.npru.ac.th/jspui/handle/123456789/262-
dc.description.abstractบทความนี้ต้องการนำเสนอประเด็นพฤติกรรมเบี่ยงเบนและการกระทำความผิดของเด็กและเยาวชนที่ถูกสร้างขึ้นมา ในสื่อบันเทิงไทย ผ่านกรณีศึกษาละครชุดเรื่องฮอร์โมน ฤดูกาลที่ 3 โดยนำทฤษฎีทางอาชญาวิทยามาอธิบายปรากฏการณ์ที่ เกิดขึ้น สะท้อนความเป็นจริงที่เกิดขึ้นในสังคมไทย เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา เก็บรวบรวมข้อมูลจากการศึกษาจากเอกสาร วิชาการและทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องประกอบการวิเคราะห์ข้อมูล ผลการศึกษาพบว่า กรณีที่เด็กและเยาวชนมีพฤติกรรม เบี่ยงเบนและกระทำความผิดโดยนำเอาแนวคิดพฤติกรรมเบี่ยงเบน ทฤษฎีกดดันทางสังคมและทฤษฎีการเรียนรู้มาใช้วิเคราะห์ พบว่าสาเหตุการกระทำความผิดของเด็กและเยาวชนจนถึงขั้นต้องหันไปพึ่งพายาเสพติดนั้น เกิดจากการที่เด็กและเยาวชนมี ความสัมพันธ์กันในครอบครัวที่ต่ำ ขาดความเอาใจใส่จากพ่อแม่ กอปรกับมีการคบหาเพื่อนที่มีลักษณะเห็นว่าการกระทำความผิด เป็นเรื่องที่ถูกต้อง สามารถกระทำได้ จนในที่สุดเมื่อสถานการณ์กดดันมาก ๆ จึงตัดสินใจออกจากโลกแห่งความเป็นจริงและมี พฤติกรรมเบี่ยงเบนไปกระทำความผิด และในกรณีเด็กและเยาวชนมีพฤติกรรมเบี่ยงเบนในประเด็นการรักร่วมเพศโดยนำเอา แนวคิดพันธะทางสังคมมาใช้วิเคราะห์ พบว่าเมื่อสังคมตีกรอบว่าการมีพฤติกรรมรักร่วมเพศเป็นพฤติกรรมที่เบี่ยงเบนหรือ อีกนัยหนึ่งถือว่าเป็นการกระทำความผิด ตามแนวคิดดังกล่าวมีปัจจัยที่สามารถยับยั้งการกระทำความผิดได้แก่ ปัจจัยความรู้สึก การผูกพันกับครอบครัวและคนที่รักจะสร้างความรู้สึกที่จะควบคุมตนเองให้เป็นบุคคลที่ดีในสังคม ปัจจัยต่อมาคือการผูกมัด ในการดำเนินชีวิตให้เป็นไปตามกฎระเบียบของสังคมเพื่อมุ่งไปสู่ความสำเร็จในชีวิตที่ตั้งเป้าหมายไว้ ส่วนปัจจัยด้านเข้าร่วม กิจกรรมต่าง ๆ ของสังคมโดยใช้เวลาส่วนใหญ่หมดไปกับการปฏิบัติกิจกรรมเหล่านั้น และปัจจัยสุดท้ายคือความเชื่อและ ค่านิยม ที่เป็นบรรทัดฐานของสังคมที่เป็นพันธะของบุคคลที่จะไม่กระทำความผิดen_US
dc.subjectพฤติกรรมเบี่ยงเบนen_US
dc.subjectการกระทำความผิดen_US
dc.subjectเด็กและเยาวชนen_US
dc.titleการศึกษาพฤติกรรมเบี่ยงเบนและการกระทำความผิดของเด็กและเยาวชนผ่านสื่อบันเทิงไทย: กรณีศึกษาละครชุดเรื่องฮอร์โมน ฤดูกาลที่ 3en_US
Appears in Collections:Proceedings of the 11th NPRU National Academic Conference

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
สัณหกฤษณ์ บุญช่วย.pdf798.5 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.