Please use this identifier to cite or link to this item: https://publication.npru.ac.th/jspui/handle/123456789/249
Title: การศึกษาผลของระบบผลิตพืชต่อชนิและจํานวนจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในดิน: กรณีึกษา ตําบลห้วยหมอนทอง จังหวัดนครปฐม Study on the effect of crop production systems on beneficial soil microorganisms: the case study of Sub-District Huaymonthong Kamphaeng Sean District, Nakhon Pathom Province
Authors: เรียงหมู่, อานนท์
นาถวรานันท์, พงษ์นาถ
สอนสนิท, กัญญา
Keywords: จุลินทรีย์ดิน ระบบการผลิตพืช ระบบเกษตรอินทรีย์ ระบบ GAP ระบบเกษตรใช้สารเคมี
Issue Date: 28-Sep-2560
Abstract: ผลของระบบผลิตพืชต่อชนิดและจํานวนจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในดินจากแปลงระบบผลิตพืชที่แตกต่างกัน 3 ระบบ (ระบบเกษตรอินทรีย์ ระบบเกษตรดีที่เหมาะสม (good agricultural practice, GAP) และระบบเกษตรใช้สารเคมี) พบว่า จํานวนจุลินทรีย์ในดินที่ตรวจนับได้จากระบบผลิตพืชทั้งสามระบบ เป็น 3.5x106, 8.5x105 และ 7.6x105 cfu/g ตามลําดับ แบคทีเรียที่ตรวจพบส่วนใหญ่เป็นแบคทีเรียที่สร้างเอนโดสปอร์และแอคติโนมัยสีท เมื่อนําจุลินทรีย์ที่แยกได้ทั้งหมดมาตรวจหา ความสามารถในการตรึงไนโตรเจนอย่างอิสระ ความสามารถในการย่อยสลายเซลลูโลส และความสามารถในการยับยั้งเชื้อก่อ โรคพืช (Phytopthora parasitica, Pythium sp., Colletotricum sp. และ Phytopthora sp.) พบว่าจํานวนไอโซเลทที่ สามารถตรึงไนโตเจนได้อย่างอิสระ และที่สามารถย่อยสลายเซลลูโลสจากทั้งสามระบบผลิตพืชเป็น 100, 38 และ 20 ไอโซเลต และจํานวน 103, 85 และ 21 ไอโซเลต ตามลําดับ นอกจากนี้พบว่ามีแบคทีเรียที่สร้างเอนโดสปอร์ จํานวน 8 ไอโซเลต (OF113, OB203, OF401, OF410, GF107, GF204, GB307 และ GB409) และแอคติโนมัยสีท 12 ไอโซเลท (OFA116, OFA301, GFA107, GFA114, GFA123, GBA205, GFA304, GFA310, GBA301, GBA305, GBA306 และ GFA405) ที่สามารถยับยั้งเชื้อก่อโรคพืชได้ จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์เหล่านี้ส่วนใหญ่แยกได้จากระบบ GAP และระบบเกษตรอินทรีย
URI: https://publication.npru.ac.th/jspui/handle/123456789/249
Appears in Collections:Proceedings of the 11th NPRU National Academic Conference



Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.