Please use this identifier to cite or link to this item:
https://publication.npru.ac.th/jspui/handle/123456789/1250
Title: | Local Wisdom to Useful in Turbine baler for Agriculture and Conserve Natural Patao River ChaiyaPhum Province ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการใช้ระหัดวิดน้ำเพื่อใช้ประโยชน์ทางการเกษตรและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ธรรมชาติ ลำน้ำปะทาว อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ |
Authors: | Mahamit, Warawut Nakamadee, Benchamaphorn Nilkron, Paranee วราวุฒิ มหามิตร ภารณี นิลกรณ์ เบญจมาภรณ์ นาคามดี |
Keywords: | river baler turbine local wisdom |
Issue Date: | 9-Jul-2020 |
Publisher: | Nakhon Pathom Rajabhat University |
Citation: | กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน. (2562). แบบระหัด (กังหันลมแบบระหัดฉุดน้ำของคนไทยโบราณ). กรม
พัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน กรุงเทพฯ. ณรงค์ชัย วิวัฒนาช่าง. (2559). การเพิ่มประสิทธิภาพระหัดวิดน้ำพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อเกษตรกรรม. คณะวิศวกรรม ศาสตร์และสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ สุพรรณบุรี. สุริยา สมุทคุปติ์.2547. ระหัดวิดน้ำลำตะคอง สัญศาสตร์ขอเทคโนโลยีพลังน้ำพื้นบ้าน.มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรารี จังหวัดนครราชสีมา. ธีระพงค์ ทาคำ.2556.ชุดปรับปรุงระบบสูบน้ำด้วยพลังงานแสงอาทิตย์แยกพิบูลสงคราม.มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอม เกล้าพระนครเหนือ กรุงเทพฯ อภิสิทธิ์ วุฒิพันธ์.2559.การศึกษาออกแบบและสร้างใบบัดพัดเครื่องสูบน้ำชนิดไหลตามแนวแกน.มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี ราชมงคลอีสาน นครราชสีมา. |
Abstract: | A baler is a local wisdom in creating tools for water management by moving water from one
place to another or continuously drawing up water to a high level. Nowadays, this folk technology is
disappearing with time. The objective of this research is to study the wisdom of using the baler for
agriculture and preserving the natural environment. Including guidelines for preserving and inheriting the
wisdom of the baler In the Pathao River area, Mueang District, Chaiyaphum Province The main
population of the research consists of villagers' sages or people who are Mr. Chaiwat Wongchoo and 7
Thai researchers and 30 young people participating in the activity. Qualitative research is conducted by
the research method. There are steps as follows: 1) Survey, compile and study the wisdom of the
utilization of the baler machine in the Prachatai River by taking a photo survey together with in-depth
interviews from key informants. 2) Study of guidelines for conserve And carry on the wisdom of using the
benefits of the baler from the villagers And youth in the community By using focus group discussions,
data analysis using content analysis
The research findings can be summarized as follows: 1) In the Pathao River, Muang District,
Chaiyaphum Province A total of 17 units across the Prao River.mainly used for agriculture. 2) Guidelines
for preserving and inheriting the wisdom of the baler is 2.1) create a model or model of the turbine baler
By scaling down proportionally Designed and decorated to be beautiful, exotic and modern Then can be
sold as souvenirs Which can increase income for people in the community. 2.2) Create a webpage of the
Prawat River Basin Learning Center, an online database of Chaiyaphum province. Is a source of learning
for those interested And is a medium for selling products. 2.3) Promote as an experience and
conservation tourist attraction. 2.4) Bring lessons for local schools. And teaching and learning in the
practice to promote the modeling skills for students in the community, which is to carry on and preserve
the local wisdom. ระหัดวิดน้ำเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นในการประดิษฐ์เครื่องมือสำหรับการบริหารจัดการน้ำ โดยการขนย้าย ถ่ายเทน้ำ จากที่หนึ่งไปสู่อีกที่หนึ่งหรือการชักน้ำหรือวิดน้ำขึ้นสู่พื้นที่สูงได้อย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันเทคโนโลยีพื้นบ้านนี้กำลังสูญหายไปตาม กาลเวลา งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภูมิปัญญาการใช้ประโยชน์ระหัดวิดน้ำสำหรับประโยชน์ทางการเกษตรและ อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติ รวมทั้งแนวทางในการอนุรักษ์และสืบสานภูมิปัญญาระหัดวิดน้ำ ในพื้นที่ลำน้ำปะทาว อำเภอ เมือง จังหวัดชัยภูมิ โดยกลุ่มประชากรหลักในการวิจัยประกอบด้วยปราชญ์ชาวบ้านหรือผู้ทรงภูมิ ได้แก่ นายชัยวัฒน์ วงษ์ชู และนักวิจัยไทบ้าน จำนวน 7 คน และเยาวชนที่เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 30 คน การดำเนินการวิจัยได้ใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) มีขั้นตอนดังนี้ 1) สำรวจ รวบรวม และศึกษาภูมิปัญญาการใช้ประโยชน์ระหัดวิดน้ำในพื้นที่ลำน้ำ ประทาว โดยแบบสำรวจ ภาพถ่ายร่วมกับการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญในพื้นที่ (Key informant) 2) การศึกษา แนวทางในการอนุรักษ์ และสืบสานภูมิปัญญาการใช้ประโยน์ระหัดวิดน้ำจากปราชญ์ชาวบ้าน และเยาวชนในชุมชน โดยใช้การ สนทนากลุ่มย่อย (Focus Group Discussion) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา(Content Analysis) สามารถสรุปผลการวิจัยได้ ดังนี้ 1) ในพื้นที่ลำน้ำปะทาว อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ จำนวนทั้งสิ้น 17 ตัว ตลอด ลำน้ำประทาว โดยส่วนใหญ่ใช้ประโยชน์ในการทำการเกษตรทั้งสายน้ำลำน้ำปะทาว รวมถึงในด้านภูมิปัญญาที่เป็นแหล่ง เรียนรู้ด้านพลังงานทดแทนและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม การใช้ระหัดวิดน้ำในพื้นที่ลำน้ำประทาวเป็นภูมิปัญญาที่สืบสานมาแล้ว กว่า 100 ปี ซึ่งการใช้ระหัดวิดน้ำมีความสำคัญต่อการทำนาในอดีตอย่างมาก เนื่องจากข้อจำกัดในด้านระยะทางและความต่าง ระดับของพื้นที่ เกษตรกรจะใช้ระหัดในการวิดน้ำเข้าพื้นที่เพาะปลูก ซี่งจะอยู่ในพื้นที่ที่มีระดับความสูงมากกว่าลำน้ำประทาว ระหัดวิดน้ำเป็นเทคโนโลยีพื้นบ้านที่ชาวบ้านประดิษฐ์ขึ้นมาเพื่อให้สามารถปรับใช้ตามลักษณะพื้นที่และสภาพแวดล้อมของ ท้องถิ่น 2) แนวทางในการอนุรักษ์และสืบสานภูมิปัญญาระหัดวิดน้ำ ในพื้นที่ลำน้ำปะทาว อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ ประกอบด้วย 2.1) สร้างโมเดลหรือแบบจำลองระหัดวิดน้ำ โดยย่อขนาดลงตามสัดส่วน ออกแบบและตกแต่งให้มีความ สวยงามแปลกใหม่และทันสมัย จากนั้นนำมาจำหน่ายเป็นของฝากที่ระลึกได้ ซึ่งสามารถเพิ่มรายได้ให้กับคนในชุมชน 2.2) สร้างเว็บเพจศูนย์การเรียนรู้ระหัดวิดน้ำ ลำน้ำประทาว ซึ่งเป็นฐานข้อมูลออนไลน์ของจังหวัดชัยภูมิ เป็นแหล่งเรียนรู้แก่ผู้สนใจ และเป็นสื่อกลางในการจำหน่ายสินค้า 2.3) ส่งเสริมเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงประสบการณ์และอนุรักษ์ 2.4) นำเข้าสู่บทเรียน สำหรับโรงเรียนในพื้นที่ และมีการเรียนการสอนในภาคปฎิบัติเพื่อส่งเสริมทักษะการสร้างแบบจำลองให้แก่เด็กนักเรียนใน ชุมชนซึ่งเป็นการสืบสานและอนุรักษ์ภูมิปัญญาพื้นบ้านให้คงอยู่ต่อไป |
URI: | https://publication.npru.ac.th/jspui/handle/123456789/1250 |
Appears in Collections: | Proceedings of the 12th NPRU National Academic Conference |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
ภูมิปัญญาท้องถิ่น.pdf | 601.63 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.