Please use this identifier to cite or link to this item: https://publication.npru.ac.th/jspui/handle/123456789/115
Title: โชติยศาสตร์ ศิลปศาสตร์แห่งการทำนายจากภารตวิทยาสู่ดินแดนสยามประเทศ
Authors: จินดาวัฒนภูมิ, สุพิชฌาย์
Keywords: ศิลปศาสตร์ 18 ประการ
โหราศาสตร์
การทำนาย
โชติยศาสตร์ เป็นหนึ่งในศิลปศาสตร์ 18 ประการ อันเป็นศาสตร์แห่งการเรียนรู้ที่จำเป็นต่อผู้ที่จะเป็นพระมหากษัตริย์ และนักปกครอง เป็นศาสตร์ความรู้ที่ได้รับมาจากประเทศอินเดีย ศิลปศาสตร์ 18 ประการ ประกอบด้วย การปกครอง การดู ลักษณะคนและพื้นที่ การดูดวงดาว การใช้อาวุธต่าง ๆ ในการรบ ภาษาและกวีนิพนธ์ อินเดียเป็นประเทศที่มีประวัติศาสตร์ และความเป็นมายาวนานนับพันปี เป็นแหล่งอารยธรรมที่เป็นต้นกำเนิดของศาสนา และสรรพวิทยาต่าง ๆ ที่เปรียบเสมือน ตักศิลา หรือศูนย์รวมแห่งความรู้ และได้ถ่ายทอดความรู้ ความเชื่อ แนวคิด และศิลปวัฒนธรรม สรรพวิทยาดังกล่าวได้เผยแพร่ เข้ามายังดินแดนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงสยามประเทศ โดยมีบรรดาพ่อค้า นักเดินทาง และนักบวช เป็นผู้ นำมาส่งผ่านความเชื่อและความศรัทธาในการสร้างความศักดิ์สิทธิ์ให้แก่สถาบันกษัตริย์ มาตั้งแต่ครั้งสมัยโบราณ ศิลปศาสตร์ 18 ประการ เป็นศาสตร์แห่งการเรียนรู้ที่จำเป็นต่อผู้ที่จะเป็นกษัตริย์ เป็นธรรมเนียมในการปฎิบัติในราชสำนักสยามมาแต่ครั้ง โบราณ กล่าวว่า บรรดาพระราชกุมารเมื่อเจริญวัยขึ้น จะทรงได้รับการศึกษาศิลปวิทยาการในศิลปศาสตร์ 18 ประการ ทั้งไตรเพท และเวทางคศาสตร์ จากราชครูประจำราชสำนัก โดยเฉพาะโชติยศาสตร์หนึ่งในศิลปศาสตร์ 18 ประการ ที่ศึกษาถึงดวงดาว และการทำนายทายทัก อย่างไรก็ดีโชติยศาสตร์มิใช่เป็นศาสตร์ที่เพียงแต่ผู้ที่เป็นกษัตริย์จะศึกษา หากแต่ยังเป็นหน้าที่ของบรรด าผู้ที่จะเป็นโหราจารย์ประจำราชสำนักด้วยเช่นกัน ที่จะต้องศึกษาให้เชี่ยวชาญ เพราะศาสตร์ดังกล่าวมีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อ การปกครองบ้านเมือง และการรบในศึกสงครามในสมัยโบราณ ซึ่งในกาลสืบต่อมาศาสตร์ดังกล่าวได้กลายมาเป็นศิลปะศาสตร์ ที่มีความสำคัญต่อการทำนายชะตาชีวิตของผู้คนในสมัยก่อนจวบจนกระทั่งถึงปัจจุบัน
Issue Date: 29-Mar-2561
URI: https://publication.npru.ac.th/jspui/handle/123456789/115
Appears in Collections:Proceedings of the 11th NPRU National Academic Conference

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
สุพิชฌาย์ จินดาวัฒนภูมิ.pdf676.89 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.