Please use this identifier to cite or link to this item:
https://publication.npru.ac.th/jspui/handle/123456789/1038
Title: | Museum Management : A Case Study of Buddhism Section, Kanchanaburi Cultural center การจัดการพิพิธภัณฑ์ : กรณีศึกษาห้องพระพุทธศาสนาศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดกาญจนบุรี |
Authors: | Khumnu, Siwarath ศิวะรัฐ คำนุ |
Keywords: | Museum management Buddhism room Kanchanaburi Cultural Center |
Issue Date: | 9-Jul-2020 |
Publisher: | Nakhon Pathom Rajabhat University |
Citation: | งามพิศ สัตย์สงวน. (2543). หลักมานุษยวิทยาวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. จิรา จงกล. (2521). พิพิธภัณฑสถาน. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร. กระทรวงศึกษาธิการ. นรพรรณ วัจสนุนทร. (2553). แนวทางการพัฒนาพิพิธภัณฑ์เพื่อการเรียนรู้: กรณีศึกษามิวเซียมสยาม. วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการโรงแรม และการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยนเรศวร. นิคม มูสิกะคามะ (2521). วิชาการพิพิธภัณฑ์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช. ศิริพร ศรีสินธุ์อุไร. (2551). พิพิธภัณฑ์ภาคสนาม : ประสบการณ์จากคนลองทำ. กรุงเทพฯ : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) ศรีศักร วัลลิโภดม. (2530). พิพิธภัณฑ์ไทยในศตวรรษใหม กรุงเทพฯ : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร สุจารีย์ จรัสด้วง. (2552). การบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตร มหาบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารงานวัฒนธรรม วิทยาลัยนวัตกรรม ICOM. (2004). Running a Museum : Practical Handbook. Paris : ICOM. Hagedorn-Saupe, Monika and Emert, Axel. 2004. |
Abstract: | "Museum Management : A Case Study of Buddhism Room Cultural center Kanchanaburi
Province” The objective of the research "Museum Management : A Case Study of Buddhism Room
Cultural center Kanchanaburi Province” is to study the characteristics of the object name, to manage
the presentation and to study the suitable display for exhibition format of objects in the cultural center.
The boundary of the study area is specifically the room for displaying Buddhist objects, Kanchanaburi
Cultural Center Kanchanaburi Rajabhat University, The content scope focuses on the name of the
object, material number, location, details of the object. Method and utility Local used, suppliers, donors
,date month year of material receiving, and suitable for the cultural center.
This research is a survey research, in which the researcher focuses on the study of data from
research documents and expert review from the researcher as a social organization that is responsible
for learning must be adjusted to develop in accordance with the environment to meet the needs of
visitors to learn As well as being a recreation within the family Act as part of social development as
much as possible. From a former museum that is waiting for people to visit In which there are only
objects exhibiting signs and information on various exhibition boards, It should be transformed into a
source of learning that is interesting, inviting, and educational. The important thing that makes visitors
interested in visiting the museum is Visiting the museum is not a boring and scary thing, but it can be fun
and enjoyable at the same time. The museum also has beautiful buildings allow visitors to come and
relax. They can take beautiful pictures as well, and the researchers also found that a lively museum is
realistic simulation like prehistoric times. The museum should add multimedia for realism Making, that
for first impress when the customers entered to museum and gained new knowledge. The Museum also
should have relax places more facilities such as sitting area, free internet, coffee shop too. การศึกษาวิจัยเรื่อง “การจัดการพิพิธภัณฑ์ : กรณีศึกษาห้องพระพุทธศาสนา ศูนย์วัฒนธรรม จังหวัดกาญจนบุรี” นี้ มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อศึกษาหาข้อมูลคุณลักษณะเป็นชื่อของวัตถุ ในการจัดการนำเสนอในรูปแบบพิพิธภัณฑ์ และศึกษา รูปแบบการจัดแสดงวัตถุ ที่เหมาะสมกับการจัดแสดงในศูนย์วัฒนธรรม กำหนดขอบเขตการวิจัยไว้ดังนี้ กำหนดขอบเขตด้าน พื้นที่ศึกษาเฉพาะห้องจัดแสดงวัตถุทางพระพุทธศาสนา ศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดกาญจนบุรี มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี, ขอบเขตด้านเนื้อหามุ่งศึกษาด้าน ชื่อของวัตถุ หมายเลขวัสดุ สถานที่มา รายละเอียดของวัตถุ วิธีทำและประโยชน์ใช้สอย ท้องถิ่นที่ใช้ ชื่อผู้จัดหาวัสดุ ชื่อผู้บริจาควัสดุ วันเดือนปีที่ได้รับวัสดุ, และศึกษาการจัดแสดงที่เหมาะสมกับศูนย์วัฒนธรรม งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) โดยผู้วิจัยจะเน้นหนักไปในเรื่องการศึกษาข้อมูลจาก เอกสาร ตำรา งานวิจัย และการให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบ จากการวิจัย ผู้วิจัยพบว่า หอวัฒนธรรม จังหวัดกาญจนบุรี ในฐานะ ที่เป็นหน่วยงานหนึ่งทางสังคมที่มีหน้าที่เป็นแหล่งเรียนรู้ ก็ต้องมีการปรับเปลี่ยนพัฒนาให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อม เพื่อ ตอบสนองความต้องการของผู้เข้าชมเพื่อศึกษาหาความรู้ ตลอดจนเป็นการพักผ่อนหย่อนใจ ทำหน้าที่เป็นส่วนหนึ่งของการ พัฒนาสังคมให้มากที่สุด จากที่เคยเป็นพิพิธภัณฑ์ที่รอให้ผู้คนเข้ามาชม โดยมีเพียงวัตถุจัดแสดง ป้ายข้อมูล บอร์ดนิทรรศการ ต่าง ๆ ควรเปลี่ยนโฉมมาเป็นแหล่งเรียนรู้ที่น่าสนใจ ดึงดูดใจ และการสร้างการเรียนรู้ สิ่งสำคัญที่ทำให้ผู้เข้าชมสนใจเข้ามา เยี่ยมพิพิธภัณฑ์ก็คือ การมาชมพิพิธภัณฑ์ไม่ใช่เรื่องน่าเบื่อ น่ากลัว หากแต่ได้รับความสนุกสนานเพลิดเพลิน อีกทั้งพิพิธภัณฑ์ ยังควรมีอาคารสถานที่ที่สวยงาม ทำให้ผู้เยี่ยมชมได้มาพักผ่อน และได้ถ่ายภาพสวย ๆ อีกด้วย จากการศึกษาพบว่าพิพิธภัณฑ์ ในอุดมคติของคนส่วนใหญ่ ก็คือพิพิธภัณฑ์ที่มีชีวิตชีวา มีการสร้างแบบจำลองที่สมจริง เช่น ในยุคพระพุทธศาสนาแรกเริ่มเป็น อย่างไร ยุคกรุงรัตนโกสินทร์เป็นอย่างไร แล้วใช้สื่อมัลติมีเดียเพิ่มเติมเพื่อความสมจริง ทำให้พิพิธภัณฑ์เป็นสถานที่ที่เมื่อก้าว เข้ามาแล้วได้รับความรู้ใหม่ ๆ ได้พักผ่อนหย่อนใจ และมีสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ เป็นต้น |
URI: | https://publication.npru.ac.th/jspui/handle/123456789/1038 |
Appears in Collections: | Proceedings of the 12th NPRU National Academic Conference |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
กรณีศึกษาห้องพระพุทธศาสนาศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดกาญจนบุรี.pdf | 858.56 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.