Please use this identifier to cite or link to this item:
https://publication.npru.ac.th/jspui/handle/123456789/498
Title: | พฤติกรรมและส่วนประสมการตลาดในการเลือกใช้บริการตรวจสุขภาพประจำปี ของสถานประกอบการในเขตภาคกลาง Behavior and marketing mix of selective the annual basic healthcare services with private company in the central region area |
Authors: | ภู่ดำรงค, พิเชษฐ์ ฤทธิบุญไชย, วิศิษฐ์ ลักขณานุรักษ์, สมชาย |
Keywords: | ส่วนประสมการตลาด การเลือกใช้บริการตรวจสุขภาพประจำปี สถานประกอบการ |
Issue Date: | 28-Sep-2560 |
Abstract: | การวิจัยเรื่อง พฤติกรรมและส่วนประสมการตลาดในการเลือกใช้บริการตรวจสุขภาพประจำปีของสถานประกอบการ ในเขตภาคกลางมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมการเลือกใช้บริการตรวจสุขภาพประจำปีของสถานประกอบในเขตภาคกลาง 2) ศึกษาระดับส่วนประสมทางการตลาดในการเลือกใช้บริการตรวจสุขภาพประจำปีของสถานประกอบการในเขตภาคกลาง 3) ศึกษาพฤติกรรมการเลือกใช้บริการตรวจสุขภาพประจำปีของสถานประกอบในเขตภาคกลาง จากอิทธิพลของระดับส่วนประสม ทางการตลาด และปัจจัยด้านองค์การ 4) ศึกษาแนวทางในการเลือกใช้บริการตรวจสุขภาพประจำปีของสถานประกอบการ ในเขตภาคกลาง ผู้วิจัยใช้เทคนิคการวิจัยผสมผสานวิธี การทำวิจัยเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลจากผู้ประกอบการหรือผู้มีอำนาจ ตัดสินใจในการเลือกใช้บริการตรวจสุขภาพประจำปีของสถานประกอบการในเขตภาคกลาง จำนวน 51,730 แห่ง หาขนาด กลุ่มตัวอย่างได้ 400 ราย ใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน สุ่มตัวอย่างแบบง่ายไปตามจังหวัดจัดเก็บได้ 10 แห่ง ได้แก่จังหวัด กรุงเทพมหานคร นนทบุรี ปทุมธานี นครปฐม สมุทรปราการ สมุทรสงคราม พระนครศรีอยุธยา ปราจีนบุรี ราชบุรี และ กาญจนบุรี จัดเก็บจังหวัดละ 40 สถานประกอบการ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ที่ผู้วิจัย สร้างขึ้นเอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหา ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบไคสแควร์ การวิเคราะห์ ถดถอยพหุคูณ และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) พฤติกรรมการเลือกใช้บริการตรวจสุขภาพประจำปีของสถานประกอบการในเขตภาคกลางส่วนใหญ่ มีความถี่ในการใช้บริการตรวจสุขภาพของสถานประกอบการปีละครั้ง (ร้อยละ 93.50) ค่าใช้จ่ายในการตรวจสุขภาพของ สถานประกอบการ อยู่ในช่วง 500-1,000 บาท (ร้อยละ 53.25) และผู้มีส่วนร่วมในการเลือกตรวจ สุขภาพได้แก่ การตัดสินใจ ร่วมกันระหว่างพนักงานและผู้ประกอบการ (ร้อยละ 61.00) วัตถุประสงค์ในการตรวจสุขภาพขององค์การ เพื่อเป็นสวัสดิการ แก่พนักงาน (ร้อยละ 74.00) ประเภทการตรวจสุขภาพของสถานประกอบการได้แก่ โปรแกรมตรวจสุขภาพประจำปีของพนักงาน ในองค์การ (ร้อยละ 75.00) และผู้ให้บริการตรวจสุขภาพของสถานประกอบการในสามลำดับแรกได้แก่ โรงพยาบาลเอกชน (ร้อยละ 77.00) 2) ส่วนประสมการตลาดในการเลือกใช้บริการตรวจสุขภาพประจำปีของสถานประกอบการในเขตภาคกลาง ผลการวิจัยพบว่า ส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการเลือกใช้บริการตรวจสุขภาพประจำปีของ ผู้ประกอบการ ในเขตภาคกลาง ในสามลำดับแรกได้แก่ ปัจจัยด้านบุคลากร (Mean = 4.28) ด้านราคา (Mean = 4.25) และผลิตภัณฑ์ (Mean = 4.20) ตามลำดับ 3) ปัจจัยด้านองค์การ ไม่มีผลต่อพฤติกรรมการเลือกใช้บริการตรวจสุขภาพประจำปีของสถานประกอบการ ในเขตภาคกลาง ในเรื่องการตัดสินใจร่วมกันทั้งพนักงานและผู้ประกอบการ และการเลือกโปรแกรมตรวจสุขภาพทั่วไป ในขณะที่ ระดับส่วนประสมทางการตลาดส่งผลต่อการเลือกใช้บริการตรวจสุขภาพประจำปีของผู้ประกอบการ ในเขตภาคกลาง และ 4) แนวทางในการเลือกใช้บริการตรวจสุขภาพประจำปีของสถานประกอบการในเขตภาคกลาง เพื่อให้ประสบความสำเร็จอย่าง ยั่งยืนควรดำเนินการในเรื่อง ผลการตรวจและการให้บริการต้องมีคุณภาพและสร้างความพึงพอใจและต้องตอบสนองความ ต้องการของสถานประกอบการได้ ต้องเลือกผู้ให้บริการที่สามารถตอบสนองความต้องการของสถานประกอบการได้และ สามารถตอบข้อสงสัยหรือปัญหาต่าง ๆ เกี่ยวกับปัญหาสุขภาพของพนักงานหรือลูกค้าได้ และต้องเน้นผู้ให้บริการที่สามารถ ตอบสนองความต้องการของสถานประกอบการและการบริการหลังการขายที่ดี |
URI: | https://publication.npru.ac.th/jspui/handle/123456789/498 |
Appears in Collections: | Proceedings of the 11th NPRU National Academic Conference |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
133.พิเชษฐ์ ภู่ดํารงค์1 วิศิษฐ ฤทธิบุญไชย2 และสมชาย ลักขณานุรักษ3.pdf | 575.02 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.