Please use this identifier to cite or link to this item: https://publication.npru.ac.th/jspui/handle/123456789/1211
Title: Creating Watercolor Illustration of Royal Thai Cuisine from A Poem By KING BUBBHA LOET LA NABHALAI (RAMA II)
การสร้างสรรค์ภาพประกอบสีน้ำสำรับคาวหวาน อาหารชาววัง จากบทพระราชนิพนธ์ กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวานในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
Authors: Nakhoncharupong, Charuwan
Khemphet, Nuttaya
จารุวรรณ นครจารุพงศ์
ณัฐยา เข็มเพ็ชร
Keywords: Illustration
Watercolor Illustration
Thai food
Thai Royal Court
Royal Thai Cuisine
Issue Date: 9-Jul-2020
Publisher: Nakhon Pathom Rajabhat University
Citation: ชลดา เรืองรักษ์ลิขิต. (2552). กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวานกาพย์เห่นิราศแรมสร้าง. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ชะลูด นิ่มเสมอ. (2534). องค์ประกอบศิลปะ. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.
เนื่อง นิลรัตน์, ม.ล. (2549). ตำรากับข้าวในวัง. กรุงเทพฯ : บัวสรวง
เปลี่ยน ภาสกรวงศ์, ท่านผู้หญิง. (2545). แม่ครัวหัวป่าก์. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ : สมาคมกิจ วัฒนธรรม
วิรุณ ตั้งเจริญ. (2535). ทฤษฎีสีเพื่อการสร้างสรรค์ศิลปะ. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์
ส้มจีน ราชานุประพันธ์, หม่อม. (2513). ตำรากับข้าว. พระนคร : โรงพิมพ์พระจันทร์
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, ส. (2553). ภาษาไทย : วรรณคดีวิจักษ์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. กรุงเทพฯ : สำนักงาน คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
Anthony. (2020). wet on wet. Retrieved January 20, 2020, from https://watercoloraffair.com/watercolorwet- on-wet-vs-wet-on-dry-tutorial-tips-tricks/
Anthony. (2020). wet on dry. Retrieved January 20, 2020, from https://watercoloraffair.com/watercolorwet- on-wet-vs-wet-on-dry-tutorial-tips-tricks/
Joe. (2011). dry on dry. Retrieved January 20, 2020, from https://www.paintingwithwatercolors.com/drybrush- watercolor-technique/
Abstract: A part of the writing in The Royal Thai Cuisine from the foods in A poem of King Rama II. Talking about dozens of savory dishes Thai food and desserts is a national identity of Thailand Transmitted since the past is an important national culture shows the exquisite delicacy of cooking from raw material preparation, mellow flavoring process, color, beauty and fragrance, as well as good appearance. Thai literature is considered an important source of The Royal Thai Cuisine. Especially in the poem, see the fishy dish A part of the writing in Thai Royal Court from the foods in the poem of King Rama II. With the name of Thai food, sweets, beautiful poems. The language in literature The Royal Thai Cuisine in the poem chapter seen in the composition by describing the name of the food that made by the wife appreciate the taste of food like a wife who loves beautiful aesthetics. Nowadays, The Thai Royal court cuisine is rarely found. Maybe because the process has many steps must be detailed, attentive, and have a lot of raw materials. In the future, there may not be anyone who knows The Royal Thai Cuisine. Textbook or a book with accurate and beautiful illustrations is a part of inheriting and communicating the past well. Illustrations are important to convey the story. Watercolor illustrations will create aesthetic value and convey the imagination to a clear concrete. In order to achieve the most effective communication.
“...มัสมั่นแกงแก้วตา หอมยี่หร่ารสร้อนแรง ชายใดได้กลืนแกง แรงอยากให้ใฝ่ฝันหา...” กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวานเป็นบท พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ที่กล่าวถึงสำรับอาหารคาวหวานมากมายหลายสิบชนิดทั้งอาหาร ไทยและขนมไทย ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ประจำชาติไทยอย่างหนึ่ง มีการสั่งสมและถ่ายทอดกันมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่อดีต ถือได้ว่า เป็นวัฒนธรรมประจำชาติที่สำคัญของคนไทย เป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นถึงความละเอียดอ่อนประณีตในการปรุงอาหารตั้งแต่การ เตรียมวัตถุดิบ ขั้นตอนวิธีการทำที่พิถีพิถัน รสชาติกลมกล่อม สีสัน ความสวยงาม และกลิ่นที่หอมรัญจวน รวมถึง รูปลักษณะที่ชวนรับประทาน วรรณคดีไทยถือเป็นแหล่งข้อมูลอาหารไทยที่สำคัญ โดยเฉพาะเรื่องกาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน บทพระราชนิพนธ์ ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ที่ร้อยเรียงรายชื่อสำรับคาวหวาน อาหารชาววัง เป็นบทร้อยกรองที่ไพเราะ ใช้ภาษาในเชิงวรรณศิลป์ได้อย่างงดงาม อาหารไทยในบทพระราชนิพนธ์นั้นมีปรากฎในบทประพันธ์ฯ โดยพรรณนาชื่อของ อาหารที่ปรุงโดยพระมเหสี เจ้าจอม และพระสนม เป็นการชื่นชมรสชาติของอาหารเปรียบเปรยกับนางอันเป็นที่รักในเชิง สุนทรียะที่งดงาม ซึ่งปัจจุบันจะพบเห็นอาหารไทยชาววังได้ยาก อาจจะเป็นเพราะกรรมวิธีที่มีหลายขั้นตอน ละเอียดและ ประณีต ใส่ใจ และมีวัตถุดิบที่หลากหลาย จึงทำให้อาหารไทยดั้งเดิมหารับประทานได้ยาก และอาจเป็นได้ว่าในอนาคตอาจจะ ไม่มีผู้ที่รู้จักสำรับคาวหวานและอาหารชาววัง จากบทพระราชนิพนธ์กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวานนี้อีกเลย การมีตำราหรือ หนังสือที่มีภาพประกอบที่ถูกต้องและสวยงามจึงเป็นส่วนหนึ่งในการสืบทอดและถ่ายทอดเรื่องราวในอดีตได้เป็นอย่างดี ภาพประกอบจึงมีความสำคัญกับการถ่ายทอดเรื่องราวคือภาพประกอบสีน้ำจะนั้นก่อให้เกิดคุณค่าทางความงามและการ ถ่ายทอดจินตนาการทางความคิดให้เป็นรูปธรรมที่ชัดเจน เพื่อต้องการให้เกิดประสิทธิภาพในการสื่อสารมากที่สุด
URI: https://publication.npru.ac.th/jspui/handle/123456789/1211
Appears in Collections:Proceedings of the 12th NPRU National Academic Conference



Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.